อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักกองคลัง

อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักกองคลัง


กองคลัง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ  ดังนี้

 งานการเงิน

(๑) จัดเก็บรักษาเงิน ส่งเงินฝากธนาคาร และตรวจสอบการรับเงินประจำวัน(๒) การรับเงินรายได้จากงานพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ตามใบนำส่งและใบสรุปใบนำส่งเงิน ตรวจสอบให้ตรงกับใบเสร็จรับเงินและนำฝากธนาคารทุกวัน พร้อมทั้งส่งใบนำส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
(๓) การรับเงินจัดสรรจากท้องถิ่นจังหวัด ได้แก่ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ค่าอาหารเสริม (นม) ค่าอาหารกลางวัน ค่าเบี้ยยังชีพ ค่าอุปกรณ์กีฬา ค่าก่อสร้างทางหลวงชนบท ออกใบเสร็จ ทำใบนำส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
(๔) การตรวจสอบเงินโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน ภาษีธุรกิจเฉพาะ
(๕) การโอนเงินเดือนพนักงาน, สมาชิกสภา และผู้มีสิทธิรับเงินเข้าธนาคาร
(๖) การตรวจเอกสารประกอบฏีกาจ่ายเงิน ได้แก่ วันที่ ลายมือชื่อในใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงินหรือหลักฐานการจ่าย ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของต้องประทับตราให้ถูกต้อง
(๗) การจัดทำฎีกาเบิกเงินของส่วนการคลัง ฎีกานอกงบประมาณ ฎีกาเงินสะสม พร้อมทั้งรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน
(๘) การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าจ้างเหมาบริการ เงินสำรองจ่าย
(๙) งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

                                      

 งานการบัญชี

(๑) รับใบนำส่งจากงานด้านการเงินนำมาลงบัญชีเงินสดรับและทะเบียนเงินรายรับ
(๒) การจัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันทุกวันที่มีการรับ-จ่ายเงินและเสนอรายงานให้ผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารทราบทุกวัน
(๓) รายงานการรับจ่ายเงินอุดหนุนทั่วไป/ อุดหนุนเฉพาะกิจ /เงินถ่ายโอน ฯลฯ
(๔) จัดทำรายงานประจำเดือน ได้แก่ งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารต้องตรงกับรายงานสถานการณ์เงินประจำวัน
(๕) การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
(๖) งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

(๑) จัดเก็บรายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยาวจัดเก็บเอง และเงินโอนทุกประเภทรับเงินรายได้
(๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รวมทั้งรายการรายละเอียดต่างๆ ของผู้มาชำระภาษีทุกประเภทกับทะเบียนลูกหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนและทำให้เป็นปัจจุบัน
(๓) จำหน่ายลูกหนี้ค้างชำระออกจากบัญชี เร่งรัดการจัดเก็บรายได้
(๔) จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้ภาษี ได้แก่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๕) งานเร่งรัดจัดเก็บและตรวจสอบภาษีประจำเดือน
(๖) จัดทำหนังสือแจ้งเตือนส่งไปยังผู้มีหน้าที่เสียภาษี กรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนด
(๗) สำรวจพร้อมกับแจ้งความต้องการแบบพิมพ์และใบเสร็จรับเงินต่างๆ ในการจัดเก็บรายได้กับหัวหน้าส่วนการคลัง ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ของระยะเวลาที่ต้องการใช้
(๘) จัดทำรายงานต่างๆ เกี่ยวกับภาษีที่ตนจัดเก็บ อาทิเช่น รายงานภาษีบำรุงท้องที่ประจำเดือน เป็นต้น
(๙) จัดทำรายงานการใช้จ่ายใบเสร็จรับเงินเสนอต่อคณะผู้บริหาร เมื่อสิ้นปี
(๑๐) งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย

 งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

(๑) งานทะเบียนเบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์
(๒) ดำเนินการเรื่องการซ่อมและบำรุงรักษาพัสดุ
(๓) ดำเนินการจัดซื้อ – จัดจ้าง
(๔) ตรวจสอบและรับจ่ายพัสดุและเก็บรักษาพัสดุ และจำหน่ายพัสดุ
(๕) พิมพ์ฎีการายจ่ายประจำเดือน อาทิเช่น ฎีกาค่าตอบแทนผู้บริหาร ฎีกาค่าตอบแทนสมาชิก ฎีกาเงินเดือนพนักงาน ฎีกาค่าจ้างประจำ ฎีกาค่าตอบแทนพนักงานจ้างตามภารกิจ ฎีกาส่งเงินสมทบประกันสังคม ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
(๖) ชำระเงินนอกสถานที่ อาทิเช่น ชำระค่าไฟฟ้า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำประปา เป็นต้น
(๗) งานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย